หมวดสินค้า

วิวัฒนาการ 3G ในประเทศไทย กับการเตรียมพร้อมเข้าสู่การประมูล 3G 2100MHz

วิวัฒนาการ 3G ในประเทศไทย กับการเตรียมพร้อมเข้าสู่การประมูล 3G 2100MHz
รหัสสินค้า: 303
สถานะสินค้า: มีสินค้า
ราคา: 0.00 บาท
จำนวน:  
   - หรือ -   

วิวัฒนาการ 3G ในประเทศไทย และการเตรียมพร้อมเข้าสู่การประมูล 3G 2100MHz

 

ในช่วงนี้หลายๆคนอาจได้ยินข่าวการเตรียมพร้อมสำหรับการประมูลคลื่นความถี่โทรศัพท์มือถือผ่านระบบ 3G 
บนคลื่นความถี่ 2.1GHz หรือ 2100MHz และตั้งข้อสงสัยว่า ทำไมต้องเป็น 3G บนคลื่นความถี่ 2.1GHz 
แล้วมันต่างจาก3G ตอนนี้อย่างไร แล้วเราจะเตรียมพร้อมอย่างไร
 
ข้อมูลจากงานสัมมนา “Thailand 3G Gear Up 2012 : 
Declaring Auction Procedure for 3G on 2.1 GHz
ซึ่งจัดโดยสำนักงาน กสทช. เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน ที่ผ่านมา มีเรื่องราวที่น่าสนใจในด้านความรู้เรื่อง 3G 
ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลของการประมูลคลื่นความถี่ 3G บนคลื่นความถี่ 2.1GHz ในประเทศไทย 
และการประมูลจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนทั่วไป และประเทศชาติอย่างไร
 โดยมีข้อมูลจาก ร้อยโท ดร.เจษฎา ศิวรักษ์ เลขานุการรองประธาน กสทช. 
ซึ่งได้บรรยายในหัวข้อ 3G and HSPA Network Technology Roadmap 
and Solution to support Wireless Usage Demand
 
ในอดีตนั้นประเทศไทยมีการให้บริการ 3G บนคลื่นความถี่ 470MHz, 850MHz, 
900MHz, 1.7GHz, 1.8GHz, 1.9GHz, 2.1GHz ถ้าเห็นคุ้นๆก็คงจะมี 850/900/2100MHz
 
 
 
จากภาพ เราจะเห็นได้ว่า คลื่นความถี่ที่ได้รับอนุญาต (license) คือ 2.3GHz, 2.6GHz, 
3.3GHz, 3.4GHz ส่วนความถี่2.4GHz และ 5.7GHz คุ้นๆไหม? มันคือคลื่น Bluetooth นั่นเอง 
แบบหลังนี้ไม่ต้องขอ license อนุญาต และคลื่น 2.3GHz,2.4GHz ก็มีการนำมาใช้ในการให้บริการ Wi-Max
 
คลื่นความถี่ 3G ในประเทศไทย
ย้อนกลับไปที่การสัมปทานคลื่นความถี่ในการให้บริการโทรศัพท์มือถือ เริ่มจากระบบ GSM ในยุคก่อน
(โทรออก-รับสาย รับส่ง SMS) ก็จะมี AIS, DTAC, TAO (TA Orange ในสมัยนั้น) ต่อมาเป็นยุคของ GPRS
จากนั้นต่อกันที่ยุคของEDGE หรือเรียกเล่นๆว่า 2.5G และมีระบบ W-CDMA ถ้าใครยังจำกันได้
สมัยนั้นมีค่ายมือถือ Thai Mobile ด้วย
 
 
และหากย้อนความกลับไปก่อนที่ TruemoveH จะเกิด ก็มี Hutch-CAT 
ให้บริการเครือข่าย CDMA บนความถี่แบบ 1x EV-DO
 
 
ในยุค 2G (โทรสนทนาปกติ, รับส่งข้อความ SMS) คลื่นความถี่ 900MHz คือ AIS 
(หลังจากนั้น AIS ก็นำคลื่นความถี่เดียวกันนี้ มาทำ 3G) ส่วน 850MHz คือ DTAC/Truemove/DPC 
อย่าจำสับสนกับระบบโทรศัพท์ 1800MHz (ภายหลัง dtac, Truemove 
ก็ทดลองใช้ 3G บนคลื่นความถี่ 850MHz เหมือนกัน) 
ส่วน 1900MHz ได้แก่ Thai Mobile (คือ TOT + CAT นั่นเอง) 
ในขณะที่ Hutch + CAT ให้บริการ CDMA 2000 และล่าสุด ปีที่แล้ว Truemove + CAT 
ให้บริการ TruemoveH โดยใช้คลื่นความถี่ 3G เดิมคือ 850MHz ส่วน TOT ให้บริการบนคลื่นความถี่ 2100MHz 
แล้วให้ผู้ให้บริการรายต่างๆ อย่าง i-mobile, i-kool เป็นคนทำตลาดให้ แล้วเช่าเสาทำ MNVO 
ยุคถัดไปมีคลื่นใหม่คือ 2.3GHz (TOT) และ 2.6GHz ยังไม่มีรายใดเป็นเจ้าของคลื่น ซึ่งตรงนี้คือยุคของ LTE 
ซึ่งจะก้าวเข้าสู่ยุค 4G Candidate ในที่สุด
 
ทำไม 3G ต้องแบ่งเป็นหลายคลื่นความถี่ แล้วทำไมต้องขายเครื่องแยกด้วย ในสมัยที่เราโทรออก – รับสายนั้น 
เรามักจะเลือกซื้อเครื่องพร้อมเบอร์ เพราะ AIS เป็นคลื่น 900MHz, Dtac, Truemove เป็นคลื่น 1800MHz
 และตอนนั้นมี DPC หรือ GSM 1800 เป็นคลื่น 1800MHz 
สมชื่อ แต่พอเป็นยุค 3G แล้วก็ต้องเลือกอุปกรณ์ให้ตรงกับคลื่นความถี่
 
จากสาเหตุที่เครือข่ายให้บริการ 2G และ 3G คนละความถี่ ทำให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ 
จำเป็นจะต้องนำตัวเครื่องอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือมาจำหน่ายเอง เพื่อให้สามารถใช้งานได้บนเครือข่ายของตน
 และบางรุ่นหากผู้ให้บริการไม่ได้นำเข้ามาขายอย่างเป็นทางการ 
ผู้ใช้ก็จะไปหาเครื่องนอกที่รองรับเครือข่ายของตนมาใช้งานแทน 
ดังนั้นจะเห็นว่า การประมูลคลื่นความถี่ 3G นั้นจะเป็นตัวกำหนดอุปกรณ์การใช้งานของเรา หากใครยังจำได้ iPhone 3GS 
ไม่สนับสนุน 3G 900MHz ของ AIS ดังนั้นผู้ใช้ iPhone 3GS จะใช้งาน 3G 
ได้เต็มประสิทธิภาพเฉพาะบน 3G dtac และ truemove เท่านั้น
 เช่นเดียวกับที่หลายๆคนเคยสงสัยว่า ทำไมสมาร์ทโฟนจึงมีการแยกขายเครื่องแต่ละผู้ให้บริการ 
เนื่องจากมีการปรับแต่งให้เหมาะสมกับความถี่ 3G ของแต่ละค่ายนั่นเอง
 
จุดนี้เองก็เป็นสาเหตุที่ทำให้มีการประมูล 3G บนคลื่นความถี่ 2100MHz 
เพราะในตอนนี้ ต่างคนต่างนำคลื่นความถี่เดิมมาให้บริการ 3G ก่อน 
เนื่องจากใกล้หมดระยะเวลาสัมปทานคลื่นแล้ว หากมีการประมูลคลื่นความถี่ใหม่ 
ก็จะมีตัวเครื่องและอุปกรณ์ที่รองรับ 3G ก็จะมากขึ้น
 
เมื่อเข้าใจพื้นฐานแล้ว ว่าแต่ละค่ายตอนนี้ใช้คลื่นความถี่ใดอยู่ ก็ลองมาดูว่า คลื่น 2100MHz
 นั้นดีอย่างไร อย่างแรกคือเป็นความถี่สากลที่โอเปอเรเตอร์มือถือทั่วโลกให้บริการ 3G 
เพราะปกติแล้ว มือถือ แอร์การ์ด มักจะรองรับ 900/2100MHz, 850/2100MHz
คือไม่ว่ารุ่นใด ก็รองรับ 3G 2100MHz นั่นหมายถึงว่า เสรีในการนำเครื่องรุ่นใดมาใช้ก็ได้หากรองรับและไม่ติดล็อก
 
 
ทำไมต้องใช้ 3G 2100MHz
คงเป็นคำถามที่หลายๆคนสงสัย ว่าในเมื่อแต่ละค่ายสามารถนำคลื่นความถี่เดิมมาใช้ได้ แล้วทำไมต้องเป็น 2100MHz 
หากสังเกตจะพบว่า ตอนนี้มีผู้ใช้บริการที่ร้องเรียนปัญหาในการใช้งานโทรศัพท์มือถือ
ซึ่งเป็นการนำคลื่นความถี่เดิมที่ใช้เดิมบน 2G มาแบ่งใช้สำหรับบริการ 3G ด้วย 
ส่งผลให้บริการโทรศัพท์ระบบ 2G เริ่มมีปัญหา (อ่าน สัมภาษณ์ รองประธานกสทช)
 
ดังนั้นการประมูลคลื่น 2.1 GHz (2100MHz) ก็ด้วยเหตุผลที่ว่า 
เป็นการแก้ปัญหาเดิมที่เกิดจากการนำความถี่ 2G มาทำ 3G แล้วเกิดปัญหาในการโทร และอีกเหตุผลก็คืออุปกรณ์ที่รองรับ 3G 
แบบ 2.1 GHz (2100MHz) ในท้องตลาดนั้นมีมากกว่า และเป็นคลื่นที่ทั่วโลกส่วนใหญ่จะใช้สำหรับ 3G
 
สำหรับคำจำกัดความของ 3G ก็คือระบบโทรศัพท์เคลื่นที่ในยุคที่ 3 
ซึ่งสามารถรับส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงในระดับ 2Mbps แต่ปกติจะอยู่ที่ 384Kbps 
ตรงนี้เป็นคำตอบว่า การกำหนดเพดานการใช้งานการเชื่อมต่อดาต้าหากใช้งาน
จนครบระยะเวลาที่กำหนดที่ความเร็ว 384Kbps นั้นยังถือว่าเป็น 3G อยู่
 
เมื่อได้ทราบข้อมูลแล้วว่าทำไมถึงเป็น 3G 2100MHz 
ต่อไปผู้ใช้จะต้องพิจารณาตัวเครื่อง สมาร์ทโฟน แอร์การ์ด หรือ Wi-Fi
 ส่วนผู้ให้บริการ ก็คงจะนำเครื่องมาให้บริการจำหน่ายพร้อมซิมและโปรโมชั่น เมื่อเวลานั้นมาถึง
 
สรุปวิวัฒนาการ 3G ในประเทศไทย และการเตรียมพร้อมเข้าสู่การประมูล 3G 2100MHz
ที่ผ่านมาประเทศไทยมีการให้บริการ 3G บนคลื่นความถี่ 470MHz, 850MHz, 900MHz, 
1.7GHz, 1.8GHz, 1.9GHz และ 2.1GHz ซึ่งจะครอบคลุมการให้บริการในแหล่งชุมชน
ใน 77 จังหวัด 998 อำเภอ 8,860 ตำบล 74,819 หมู่บ้าน
 
ยุคของคลื่นความถี่ในประเทศไทย จะเริ่มจาก GSM ที่เป็นโทรศัพท์พื้นฐาน โทรออก รับสาย ส่ง SMS
 ในยุคต่อจะมีมีการใช้ GPRS และเป็น EDGE ในยุคถัดมา โดยยุคของ EDGE จะถูกเรียกว่าเป็นยุค 2.5G 
ถัดมาจะเป็นยุคของการใช้ CDMA เพื่อสนับสนุนการใช้งานระบบ Multimedia มากขึ้น ล่าสุด Truemove 
ร่วมมือกับ CAT ให้บริการ TruemoveH ในยุคถัดไปจะมีคลื่นใหม่คือ 2.3GHz และ 2.6GHz 
ซึ่งยังไม่มีใครเป็นเจ้าของ ซึ่งตรงนี้คือยุคของ LTE ซึ่งจะเข้าสู่ยุค 4G Candidate ในที่สุด
 
ในยุคของ 3G การเลือกใช้อุปกรณ์ต้องใช้ให้ตรงกันคลื่นความถี่ และการให้บริการ 2G และ 3G 
จะอยู่คนละความถี่ ทำให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือจำเป็นต้องนำ อุปกรณ์มือถือมาจำหน่ายเอง
 เพื่อให้ใช้งานบนเครือข่ายของตนเองได้ ดังนั้นจะเห็นว่าการประมูลคลื่นความถี่ 3G 
นั้นจะเป็นตัวกำหนดอุปกรณ์การใช้งาน
 
สาเหตุที่ทำให้มีการประมูล 3G บนคลื่นความถี่ 2.1GHz เพราะในตอนนี้ผู้ให้บริการต้องนำคลื่นความถี่มาให้บริการ 3G ก่อน
เนื่องจากใกล้หมดเวลาสัมปทานคลื่นแล้ว และคลื่นความถี่ 2.1GHz นี้เป็นคลื่นความถี่สากลที่ทั่วโลกให้บริการ 3G 
นั่นหมายถึงว่าเครื่องรุ่นใดก็สามารถนำมาใช้ได้ และการนำคลื่นความถี่ 2G มาใช้ 3G ส่งผลให้โทรศัพท์ 2G
เริ่มมีปัญหา ดังนั้นการประมูลคลื่น 2.1GHz นับเป็นทางออกที่ดีในการแก้ปัญหานี้
 
วิเคราะห์วิวัฒนาการของ 3G ในประเทศไทย
เมื่อพูดถึง 3G แล้วนั้นก็อดสงสัยไม่ได้ว่าเหตุใดประเทศไทยจึงมีการนำ 3G 
มาให้บริการล่าช้ากว่าประเทศเพื่อนบ้านทั้งที่ประเทศไทยมีศักยภาพมากกว่า ปัญหาที่ทำให้ประเทศไทยมี 3G 
ช้ากว่าเพื่อนบ้านเป็นเพราะปัญหาหลายอย่างด้วยกัน
 
ปัญหากฎหมาย กล่าวคือตามกฎหมายจะต้องมีองค์กรอิสระเพียงองค์กรเดียวที่จะควบคุมดูแลและให้สัมประทานคลื่นความถี่
 แต่ในขณะนั้นมีเพียง ก.ท.ช. ที่ทำหน้าที่บริหารคลื่นความถี่ แต่ไม่สามารถจักสรรคลื่นความถี่ได้
 เนื่องจากอำนาจการจัดสรรคลื่นความที่เป็นของ ก.ส.ช. ดังนั้น จึงต้องรอให้มีการจัดตั้ง กสทช. 
ซึ่งเป็นการรวมกันของ กทช. และ กสช. ขึ้นก่อน
 
ปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อน เดิม TOT กับ CAT เป็นผู้ให้สัมประทานคลื่นความถี่กับ AIS, DTAC และTRUE
 เมื่อมีการจัดตั้งองค์กรอิสระ ซึ่งทำหน้าที่บริหารคลื่นความถี่ โดยจำทำหน้าที่แทน TOT และ CAT 
และระบบสัมประทานถูกเปลี่ยนเป็นระบบใบอนุญาติ ทำให้ TOT และ CAT 
กลายเป็นคู่แข่งขันเหมือนกับผู้ให้บริการรายอื่น ดังนั้นหาก AIS, True และ Dtac 
เปลี่ยนไปใช้ 3G จะทำให้ TOT และ CAT ขาดรายได้ที่ได้จาก AIS, DTAC และ TRUE
 ซึ่งนับเป็นมูลค่ามหาศาฬเลยทีเดียว
 
ปัญหาคุณลักษณะของ 3G ซึ่ง 3G เป็นลำดับของขั้นหนึ่งของเทคโนโลยีโทรคมนาคม และวิทยุโทรทัศน์ 
เนื่องจากความเร็วและการกระจายสัญญาณแบบไร้สายทำให้สามารถ Stream 
รายการในรูปแบบโทรทัศน์ได้เช่นกัน ดังนั้นถ้าแจกคลื่นความถี่ 3G 
ให้ผู้ให้บริการรายอื่นอาจมีปัญหาฟ้องร้องว่าทำโดยไม่ผ่านองค์กรอิสระ จึงต้องรอ พรบ. กสทช.
 
ประเทศไทยมีการนำคลื่นความถี่มาใช้งานในการสื่อสาร รวมไปถึงการให้บริการวิทยุโทรศัทน์ 
มานานแล้วโดยจะแบ่งเป็นยุคและประเภทการใช้งานต่าง ๆ ตามบทความข้างต้น
 เราจะเห็นได้ว่าการมีการแข่งขันข้นข้างรุนแรง โดยจะมีการแข่งขันทั้งด้านการให้บริการ 
เครือข่ายสำหรับโทรศัพท์พื้นฐาน เครือข่ายสำหรับให้บริการด้านรับส่งข้อมูล 
เมื่อเทคโนโลยีพัฒนาขึ้นการแข่งขันด้านการรับส่งข้อมูลเริ่มรุนแรงขึ้นผู้ให้บริการจึงพยายาม
ที่จะเหนือคู่แข่งโดยการเพิ่มความเร็วในการรับส่งข้อมูล แต่เนื่องจากคลื่นความถี่ที่ใช้มีจำกัด
 จึงนำเทคโนโลยี 3G มาใช้งานบนคลื่นความที่สำหรับ 2G เป็นเหตุให้ในบางครั้งผู้ใช้บริการประสบปัญหา
ในการใช้งานโทรศัพท์ อีกทั้ง คลื่นความถี่ 2.1 GHz เป็นคลื่นความถี่มาตรฐานซึ่งมีใช้กันทั่วโลก
 ทำให้อุปกรณ์ที่รองรับการใช้งานระบบ 3G ที่ความถี่ 2.1 GHz หาได้ทั่วไปไม่จำเป็นต้องสั่งทำเป็นพิเศษ
ทำให้ต้นทุนที่ต้องเกิดขึ้นจากการปรับแต่งอุปกรณ์ที่จะนำมาใช้งานหมดไป และเหตุผลที่กล่าวมาแล้วนั้นเป็นเหตุผลให้
ผู้ให้บริการรายใหญ่จ้องที่จะประมูลคลื่นความถี่ 2.1GHz ในเดือนตุลาคมที่จะถึงนี้
 
การเตรียมพร้อมสำหรับการประมูลคลื่นความถี่ 2.1 GHz สำหรับ 3G ประเทศไทย
ในช่วงต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมานี้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์
และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้จัดให้มีการตรวจสอบคุณภาพและ
มาตรฐานการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร 
โดยการตรวจสอบครั้งนี้มีผู้บริหารระดับสูงของผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้ง 3 
เจ้าเข้าร่วมรับฟังผลการตรวจสอบเพื่อที่จะนำไปพัฒนาคุณภาพการให้บริการต่อไป
 
ผลการตรวจสอบพบว่าภาพรวมทั้งด้านความแรงของสัญญาณ การให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 
และการเข้าถึงข้อมูลอยู่ในเกณฑ์ดีแต่ในการใช้งานจริงอาจมีหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
 การแก้ปัญหาการให้บริการที่ถูกต้องคือการประมูลคลื่นความถี่ 2.1GHz หรือ
คือการสร้างถนนใหม่ซึ่งจะมีแผนการดำเนินการในเดือนตุลาคม 
นับเป็นการเปิดให้มีการสร้างโครงข่ายโทรคมนาคมที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ
 
ที่มาของข้อมูล
ข้อมูลจากสไลด์ของ ร้อยโท ดร.เจษฎา ศิวรักษ์ เลขานุการรองประธาน กสทช.
http://www.it24hrs.com/2012/thailand-3g-2100-mhz/
http://www.ryt9.com/technology/tag/3G/
http://y33.wikidot.com/3g
 
 

 

เขียนข้อคิดเห็น

ชื่อของคุณ:


ความคิดเห็น: หมายเหตุ: ไม่รองรับข้อความที่มีรูปแบบ เช่น HTML!

ให้คะแนน: แย่           ดี

พิมพ์รหัสป้องกันสแปม: